TT - jam
E-Reader นวัตกรรมหนังสือแห่งอนาคต
วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553
ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่11
วิกิตัวแรกชื่อว่า WikiWikiWeb[2] สร้างโดย วอร์ด คันนิงแฮม เมื่อพ.ศ. 2537 สำหรับโครงการ Portland Pattern Repository ของเขา โดยได้เขียนโปรแกรมขึ้นด้วยภาษาเพิร์ลและติดตั้งลงที่เว็บ c2.com โดยชื่อของ วิกิ นั้นมาจากชื่อรถประจำทางสาย "วิกิ วิกิ" (Wiki Wiki) ของระบบรถขนส่งแชนซ์ อาร์ที-52 ที่สนามบินฮอโนลูลูในรัฐฮาวาย คำว่าวิกิในภาษาฮาวายมีความหมายว่าเร็ว ดังนั้นคำว่า "วิกิวิกิ" หมายถึง "เร็วเร็ว" นั่นเอง
ระบบวิกิเริ่มเป็นที่รู้จักภายหลังจากที่สารานุกรมวิกิพีเดียได้นำมาใช้ ซึ่งต่อมาได้มีหน่วยงานหลายส่วนได้นำระบบวิกิมาใช้ไม่ว่าในการจัดการเอกสาร การติดต่อสื่อสาร หรือแม้แต่การร่วมเขียนโปรแกรม
วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553
ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่10
วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553
ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 9
หน้าประวัติ จะเป็นหน้ารวบรวมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของแต่ละบทความในวิกิพีเดีย ซึ่งบทความทุกบทความจะมีหน้าประวัติหนึ่งหน้า หน้าประวัติจะแสดงรายการว่าบทความถูกแก้ไขเมื่อใดโดยบุคคลใดบ้าง โดยเรียงตามเวลาการแก้ไขล่าสุดย้อนกลับไป โดยการแก้ไขล่าสุดจะถูกแสดงในหน้าบทความ อย่างไรก็ตามการแก้ไขก่อนหน้าทั้งหมดยังคงสามารถเรียกดูได้
การเรียกดูหน้าประวัติทำได้โดยกดปุ่ม "ประวัติ" ซึ่งอยู่ด้านบนสุดของแต่ละบทความ ตัวอย่างเช่น บทความเรื่อง จังหวัดเลย และ หน้าประวัติของบทความจังหวัดเลย เมื่อเลือกเข้าไป จะแสดงผลคล้ายดังรูป
การแก้ไขแต่ละครั้งจะแสดงในแต่ละแถว โดยแสดงถึง เวลาและวันที่ที่มีการแก้ไข ตามด้วยชื่อผู้ใช้ของผู้ที่แก้ไขบทความ ถ้าผู้แก้ไขไม่ได้ล็อกอิน หมายเลขไอพีของผู้แก้ไขจะถูกแสดงแทนที่ ถัดมาเป็นตัวเลขในวงเล็บจะแสดงถึงจำนวนไบต์ของข้อมูล (แสดงถึงจำนวนตัวอักษร โดยตัวอักษรภาษาไทยหนึ่งตัวจะมีขนาดเท่ากับ 3 ไบต์ และตัวอักษรละตินจะเท่ากับ 2 ไบต์) และด้านหลังจากตัวเลขในวงเล็บจะเป็นการสรุปการแก้ไข หากผู้แก้ไขได้ระบุไว้
เมื่อต้องการดูรุ่นแก้ไขใดนั้น สามารถเรียกดูได้ทุกรุ่นโดยกดที่ "วันที่" และหน้าของบทความนั้นจะแสดงขึ้นมา ณ เวลาที่แก้ไขนั้น
วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 8
รูปแบบรหัสต้นฉบับบางครั้งก็รู้จักกันในชื่อ "ข้อความวิกิ" ซึ่งประกอบไปด้วยข้อความธรรมดารวมกับภาษามาร์กอัปอย่างง่ายซึ่งใช้ในการกำหนดโครงสร้างของเอกสารและรูปลักษณ์ในการแสดงผล ตัวอย่างที่มักยกบ่อยได้แก่ การใช้เครื่องหมายดอกจัน ("*") ขึ้นต้นบรรทัด เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกว่าบรรทัดนั้นเป็นรายการหนึ่งในรายการแบบจุดนำ รูปแบบและวากยสัมพันธ์สามารถแตกต่างกันออกไปได้หลายแบบขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ ในบางระบบอนุญาตให้ใช้แท็ก HTML ได้
การออกแบบข้อความวิกิมีเหตุผลมากจาก HTML ซึ่งแท็กหลายแท็กมีความคลุมเครือ ทำให้จากรหัสต้นฉบับ HTML ผู้ใช้สร้างจินตนาภาพถึงผลลัพธ์ได้ยาก สำหรับผู้ใช้ส่วนมากการอ่านและการแก้ไขเนื้อหาบนรหัสต้นฉบับ HTML โดยตรงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก ดังนั้นการส่งเสริมให้แก้ไขบนข้อความธรรมดากับข้อตกลงอีกนิดหน่อยเพื่อการกำหนดโครงสร้างและรูปแบบจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า
นอกจากนั้นการที่ผู้ใช้ไม่สามารถใช้ความสามารถบางอย่างของภาษา HTML เช่น จาวาสคริปต์ และ Cascading Style Sheet ได้โดยตรง ทำให้ได้ประโยชน์คือรูปลักษณ์และความรู้สึก (Look and Feel) ในการใช้งานวิกิมีความสอดคล้องกัน เนื่องจากผู้ใช้แก้ไขรูปแบบได้อย่างจำกัด พร้อมทั้งความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น ในการนำวิกิไปใช้หลายระบบแสดงให้เห็นไฮเปอร์ลิงก์ที่ใช้งานได้เสมอ ไม่เหมือนในการใช้ HTML ซึ่งข้อความที่ไม่สามารถมองเห็นจากการแสดงผลว่าเป็นไฮเปอร์ลิงก์ก็อาจจะเป็นไฮเปอร์ลิงก์ได้
- ตัวอย่างเปรียบเทียบคำสั่ง
คำสั่งในมีเดียวิกิ | คำสั่งเอชทีเอ็มแอล | ผลลัพธ์ที่แสดงออกมา |
---|---|---|
'''เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน''' หรือ ''Candlelight Blues'' เป็น[[เพลงพระราชนิพนธ์]]เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะ[[บลูส์]] | เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน หรือ Candlelight Blues เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะบลูส์ | เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน หรือ Candlelight Blues เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะบลูส์ |
หมายเหตุ: ที่อยู่จริงของการเชื่อมโยงขึ้นอยู่กับไดเรกทอรีที่ติดตั้ง ตัวอย่างที่แสดงเป็นไดเรกทอรีของวิกิพีเดีย |
[แก้] การควบคุมความเปลี่ยนแปลง
โดยทั่วไปแล้ววิกิออกมาบนปรัชญาที่ว่าทำการแก้ไขสิ่งที่ผิดให้ง่ายมากกว่าทำให้การสร้างสรรค์ยาก ดังนั้นเมื่อวิกิเป็นระบบเปิดจึงจัดสิ่งที่มีความสำคัญ ในการยืนยันความถูกต้องของการแก้ไขเนื้อหาของหน้าวิกิล่าสุด สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของวิกิทุกตัวก็คือหน้า "ปรับปรุงล่าสุด" ซึ่งเป็นรายการที่เรียงลำดับการเปลี่ยนแปลงจากล่าสุดจำนวนหนึ่งหรือเป็นรายการการเปลี่ยนแปลงที่ทำในช่วงเวลาหนึ่ง วิกิบางตัวสามารถเลือกกรองโดยเพื่อที่จะไม่แสดงเอาการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยและไม่แสดงการแปลงที่ทำโดยสคริปต์อัตโนมัติ ("บอต")
จากปูมบันทึกการเปลี่ยนแปลง ความสามารถอื่นของวิกิส่วนมากคือ "ประวัติการแก้ไขปรับปรุง" ซึ่งแสดงหน้าวิกิรุ่นก่อนและยังมีลักษณะพิเศษในการ "ดิฟฟ์" (diff) ที่เน้นให้เห็นความเปลี่ยนแปลงระหว่างการแก้ไขปรับปรุง 2 ครั้ง ด้วยการใช้ประวัติการแก้ไขปรับปรุง บรรณาธิการสามารถดูหรือนำหน้าวิกิรุ่นก่อนหน้ากลับคืนมาได้ลักษณะเด่นดิฟฟ์สามารถใช้ในการตัดสินใจว่ามีความจำเป็นในการนำหน้าวิกิรุ่นก่อนกลับคืนมาหรือไม่ ผู้ใช้วิกิธรรมดาสามารถดูดิฟฟ์ของรายการหน้าที่ถูกแก้ไขจากหน้า "ปรับปรุงล่าสุด" ถ้าหากว่ามีการแก้ไขที่ไม่เป็นที่ยอมรับโดยดูจากประวัติก็สามารถนำหน้าวิกิรุ่นก่อนหน้ากลับคืนมาได้ การนำหน้าวิกิรุ่นก่อนกลับคืนมามีความสะดวกระดับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์วิกิที่ใช้
[แก้] การพัฒนาการ
การสร้างเอกสาร WYSIWYG ก็มีทางเป็นไปได้โดยการเพิ่มโมดูลพิเศษให้โปรแกรมค้นดูเว็บ หรือใช้วิธีที่ง่ายกว่าโดยใช้จาวาสคริปต์ในหน้าเว็บทำให้หน้าเว็บมีการเปลี่ยนแปลงโต้ตอบได้ มากไปกว่านั้นยังมีวิธีที่ผ่อนปรนระหว่างการใช้ภาษามาร์กอัปกับ WYSIWYG เช่น การเพิ่มปุ่มช่วยจดจำภาษามาร์กอัป เช่น ปุ่มเพิ่มรูปที่ช่วยเพิ่มข้อความในภาษามาร์กอัปแต่ไม่ได้แสดงผลลัพธ์ให้เห็นในทันที ที่พบได้ในมีเดียวิกิ การเพิ่มปุ่มช่วยจดจำภาษามาร์กอัปสามารถอำนวยความสำดวกให้กับผู้ใช้ได้โดยไม่ต้องเพิ่มโปรแกรมพิเศษมากเท่าการทำให้แก้ไขหน้าเว็บแบบ WYSIWYG มากไปกว่านั้นในหลายกรณี การสร้างแก้ไขเอกสารแบบ WYSIWYG ก็ไม่ส่งเสริมให้ผู้ใช้จัดการโครงสร้างของเอกสาร เช่น การเพิ่มขนาดตัวอักษร แทนการกำหนดหัวข้อ ซึ่งทำให้การประมวลผลเอกสารเช่นการเปลี่ยนรูปแบบเอกสารตามแม่แบบเป็นไปได้ยากขึ้น