วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

แบบนำเสนอ
























































ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่11

ประวัติ
สัญลักษณ์รถบัส "วิกิวิกิ" ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติฮอโนลูลู

วิกิตัวแรกชื่อว่า WikiWikiWeb[2] สร้างโดย วอร์ด คันนิงแฮม เมื่อพ.ศ. 2537 สำหรับโครงการ Portland Pattern Repository ของเขา โดยได้เขียนโปรแกรมขึ้นด้วยภาษาเพิร์ลและติดตั้งลงที่เว็บ c2.com โดยชื่อของ วิกิ นั้นมาจากชื่อรถประจำทางสาย "วิกิ วิกิ" (Wiki Wiki) ของระบบรถขนส่งแชนซ์ อาร์ที-52 ที่สนามบินฮอโนลูลูในรัฐฮาวาย คำว่าวิกิในภาษาฮาวายมีความหมายว่าเร็ว ดังนั้นคำว่า "วิกิวิกิ" หมายถึง "เร็วเร็ว" นั่นเอง

ระบบวิกิเริ่มเป็นที่รู้จักภายหลังจากที่สารานุกรมวิกิพีเดียได้นำมาใช้ ซึ่งต่อมาได้มีหน่วยงานหลายส่วนได้นำระบบวิกิมาใช้ไม่ว่าในการจัดการเอกสาร การติดต่อสื่อสาร หรือแม้แต่การร่วมเขียนโปรแกรม

ที่มา

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่10

Nuvola apps hwinfo.png

ยินดีต้อนรับเข้าสู่วิกิตำรา!

วิกิตำราเป็นโครงการหนึ่งของวิกิมีเดีย เพื่อที่จะก่อสร้างห้องสมุดเสรีขึ้นที่ใครก็สามารถแก้ไขได้ (ต่อยอดเพิ่มเติม) ปัจจุบันวิกิตำรามีหน้าทั้งหมด 873 หน้า ที่เป็นตำราที่ทุกคนศึกษาได้ สร้างโดยอาสาสมัครอย่างคุณ !

วิกิตำราในภาษาอื่น

ภาษาที่มีจำนวนหนังสือ 1,000 เนื้อหาขึ้นไป
Deutsch (เยอรมัน) · English (อังกฤษ) · Español (สเปน) · Suomi (ฟินแลนด์) · Français (ฝรั่งเศส) · Italiano (อิตาลี) · עברית (ฮีบรู) · Magyar (ฮังการี) · 日本語 (ญี่ปุ่น) · Nederlands (ดัตช์) · Polski (โปแลนด์) · Português (โปรตุเกส) · Shqip (แอลเบเนีย)
ภาษาที่มีจำนวนหนังสือ 100 เนื้อหาขึ้นไป
Alemannisch (อเลแมนนิก) · Englisc (แองโกล-แซกซอน) · العربية (อาหรับ) · Български (บัลแกเรีย) · Català (คาตาลัน) · Čeština (เช็ก) · Dansk (เดนมาร์ก) · Esperanto (เอสเปรันโต) · Eesti (เอสโตเนีย) · فارسی (เปอร์เซีย) · Galego (กาลิเซีย) · Hrvatski (โครเอเชีย) · Interlingua (อินเตอร์ลิงกวา) · Bahasa Indonesia (อินโดนีเซีย) · Íslenska (ไอซ์แลนด์ · ქართული (จอร์เจีย) · 한국어 (เกาหลี) · Lietuvių (ลิทัวเนีย) · Македонски (มาซิโดเนีย) · मराठी (มราฐี) · Norsk (นอร์เวย์) · Română (โรมาเนีย) · Русский (รัสเซีย) · Simple English (อังกฤษอย่างง่าย) · Slovenska (สโลวัก) · Svenska (สวีเดน) · Српски / Srpski (เซอร์เบีย) · தமிழ் (ทมิฬ) · Türkçe (ตุรกี) · Українська (ยูเครน) · Tiếng Việt (เวียดนาม) · 中文 (จีน)

รายชื่อวิกิตำราทั้งหมด

ระดับการพัฒนาวิกิตำรา
เนื้อหาน้อย: 00%.pngกำลังพัฒนาเนื้อหา: 25%.pngเนื้อหาใกล้สมบูรณ์: 50%.pngเนื้อหาพัฒนาแล้ว: 75%.pngเนื้อหาครอบคลุม: 100%.png


ค้นหา
ชั้นหนังสือ วิทยาศาสตร์
ฟิสิกส์อะตอม ระดับการพัฒนา: 25% (ณ วันที่ {{{2}}})
ชั้นหนังสือ มนุษยศาสตร์
การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ระดับการพัฒนา: 00% (ณ วันที่ 17 พ.ค. 2549) (17 พ.ค. 2549)
ชั้นหนังสือ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ชั้นหนังสือ คอมพิวเตอร์ชั้นหนังสือ วิทยาการคอมพิวเตอร์
ชั้นหนังสือ วิศวกรรมศาสตร์

คอนกรีตเทคโนโลยี ระดับการพัฒนา: 00% (ณ วันที่ {{{2}}}) ฟิสิกส์สำหรับงานอาคาร ระดับการพัฒนา: 00% (ณ วันที่ {{{2}}}) ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า ระดับการพัฒนา: 00% (ณ วันที่ {{{2}}}) องค์ความรู้วิศวกรรมซอร์ฟแวร์ ระดับการพัฒนา: 00% (ณ วันที่ {{{2}}}) การออกแบบหุ่นยนต์ ระดับการพัฒนา: 00% (ณ วันที่ 2 ส.ค. 2549) การออกแบบระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค ระดับการพัฒนา: 00% (ณ วันที่ {{{2}}})

ชั้นหนังสือ ภาษา

ไทย ระดับการพัฒนา: 50% (ณ วันที่ {{{2}}}) เยอรมัน ระดับการพัฒนา: 25% (ณ วันที่ {{{2}}}) ละติน ระดับการพัฒนา: 25% (ณ วันที่ {{{2}}}) สเปนระดับการพัฒนา: 25% (ณ วันที่ {{{2}}}) อังกฤษ ระดับการพัฒนา: 25% (ณ วันที่ {{{2}}}) อื่น ๆ

ชั้นหนังสือ สูตรสำเร็จ

การถ่ายภาพ ระดับการพัฒนา: 25% (ณ วันที่ 29 กันยายน 2548) เทคนิคการถ่ายภาพ ระดับการพัฒนา: 00% (ณ วันที่ 29 กันยายน 2548) กระบวนการล้างฟิล์ม ระดับการพัฒนา: 00% (ณ วันที่ 29 กันยายน 2548) ชีวิตเป็นเรื่องง่ายๆ -Life Coach ระดับการพัฒนา: 00% (ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2550)

เบ็ดเตล็ด/จิปาถะ
ชั้นหนังสือ สูตรสำเร็จชั้นหนังสือ แนะนำการศึกษาชั้นหนังสือ ตำราอาหารชั้นหนังสือ วรรณคดีชั้นหนังสือ คณิตศาสตร์ชั้นหนังสือ ตำราอาหาร


ดูชั้นหนังสือทั้งหมด


วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 9

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้าประวัติ จะเป็นหน้ารวบรวมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของแต่ละบทความในวิกิพีเดีย ซึ่งบทความทุกบทความจะมีหน้าประวัติหนึ่งหน้า หน้าประวัติจะแสดงรายการว่าบทความถูกแก้ไขเมื่อใดโดยบุคคลใดบ้าง โดยเรียงตามเวลาการแก้ไขล่าสุดย้อนกลับไป โดยการแก้ไขล่าสุดจะถูกแสดงในหน้าบทความ อย่างไรก็ตามการแก้ไขก่อนหน้าทั้งหมดยังคงสามารถเรียกดูได้

ตัวอย่าง หน้าประวัติของบทความเรื่อง จังหวัดเลย ณ วันที่ 25 ส.ค. 2550

การเรียกดูหน้าประวัติทำได้โดยกดปุ่ม "ประวัติ" ซึ่งอยู่ด้านบนสุดของแต่ละบทความ ตัวอย่างเช่น บทความเรื่อง จังหวัดเลย และ หน้าประวัติของบทความจังหวัดเลย เมื่อเลือกเข้าไป จะแสดงผลคล้ายดังรูป

การแก้ไขแต่ละครั้งจะแสดงในแต่ละแถว โดยแสดงถึง เวลาและวันที่ที่มีการแก้ไข ตามด้วยชื่อผู้ใช้ของผู้ที่แก้ไขบทความ ถ้าผู้แก้ไขไม่ได้ล็อกอิน หมายเลขไอพีของผู้แก้ไขจะถูกแสดงแทนที่ ถัดมาเป็นตัวเลขในวงเล็บจะแสดงถึงจำนวนไบต์ของข้อมูล (แสดงถึงจำนวนตัวอักษร โดยตัวอักษรภาษาไทยหนึ่งตัวจะมีขนาดเท่ากับ 3 ไบต์ และตัวอักษรละตินจะเท่ากับ 2 ไบต์) และด้านหลังจากตัวเลขในวงเล็บจะเป็นการสรุปการแก้ไข หากผู้แก้ไขได้ระบุไว้

เมื่อต้องการดูรุ่นแก้ไขใดนั้น สามารถเรียกดูได้ทุกรุ่นโดยกดที่ "วันที่" และหน้าของบทความนั้นจะแสดงขึ้นมา ณ เวลาที่แก้ไขนั้น

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 8

หน้าวิกิและการแก้ไข

รูปแบบรหัสต้นฉบับบางครั้งก็รู้จักกันในชื่อ "ข้อความวิกิ" ซึ่งประกอบไปด้วยข้อความธรรมดารวมกับภาษามาร์กอัปอย่างง่ายซึ่งใช้ในการกำหนดโครงสร้างของเอกสารและรูปลักษณ์ในการแสดงผล ตัวอย่างที่มักยกบ่อยได้แก่ การใช้เครื่องหมายดอกจัน ("*") ขึ้นต้นบรรทัด เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกว่าบรรทัดนั้นเป็นรายการหนึ่งในรายการแบบจุดนำ รูปแบบและวากยสัมพันธ์สามารถแตกต่างกันออกไปได้หลายแบบขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ ในบางระบบอนุญาตให้ใช้แท็ก HTML ได้

การออกแบบข้อความวิกิมีเหตุผลมากจาก HTML ซึ่งแท็กหลายแท็กมีความคลุมเครือ ทำให้จากรหัสต้นฉบับ HTML ผู้ใช้สร้างจินตนาภาพถึงผลลัพธ์ได้ยาก สำหรับผู้ใช้ส่วนมากการอ่านและการแก้ไขเนื้อหาบนรหัสต้นฉบับ HTML โดยตรงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก ดังนั้นการส่งเสริมให้แก้ไขบนข้อความธรรมดากับข้อตกลงอีกนิดหน่อยเพื่อการกำหนดโครงสร้างและรูปแบบจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า

นอกจากนั้นการที่ผู้ใช้ไม่สามารถใช้ความสามารถบางอย่างของภาษา HTML เช่น จาวาสคริปต์ และ Cascading Style Sheet ได้โดยตรง ทำให้ได้ประโยชน์คือรูปลักษณ์และความรู้สึก (Look and Feel) ในการใช้งานวิกิมีความสอดคล้องกัน เนื่องจากผู้ใช้แก้ไขรูปแบบได้อย่างจำกัด พร้อมทั้งความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น ในการนำวิกิไปใช้หลายระบบแสดงให้เห็นไฮเปอร์ลิงก์ที่ใช้งานได้เสมอ ไม่เหมือนในการใช้ HTML ซึ่งข้อความที่ไม่สามารถมองเห็นจากการแสดงผลว่าเป็นไฮเปอร์ลิงก์ก็อาจจะเป็นไฮเปอร์ลิงก์ได้

ตัวอย่างเปรียบเทียบคำสั่ง
คำสั่งในมีเดียวิกิคำสั่งเอชทีเอ็มแอลผลลัพธ์ที่แสดงออกมา
'''เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน''' หรือ ''Candlelight Blues'' เป็น[[เพลงพระราชนิพนธ์]]เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะ[[บลูส์]]

เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน หรือ Candlelight Blues เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะบลูส์

เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน หรือ Candlelight Blues เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะบลูส์
หมายเหตุ: ที่อยู่จริงของการเชื่อมโยงขึ้นอยู่กับไดเรกทอรีที่ติดตั้ง ตัวอย่างที่แสดงเป็นไดเรกทอรีของวิกิพีเดีย

[แก้] การควบคุมความเปลี่ยนแปลง

การเปรียบเทียบประวัติเน้นให้เห็นข้อความที่เปลี่ยนแปลง ระหว่างการแก้ไขปรับปรุงสองครั้งของหน้าเว็บเดียวกัน

โดยทั่วไปแล้ววิกิออกมาบนปรัชญาที่ว่าทำการแก้ไขสิ่งที่ผิดให้ง่ายมากกว่าทำให้การสร้างสรรค์ยาก ดังนั้นเมื่อวิกิเป็นระบบเปิดจึงจัดสิ่งที่มีความสำคัญ ในการยืนยันความถูกต้องของการแก้ไขเนื้อหาของหน้าวิกิล่าสุด สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของวิกิทุกตัวก็คือหน้า "ปรับปรุงล่าสุด" ซึ่งเป็นรายการที่เรียงลำดับการเปลี่ยนแปลงจากล่าสุดจำนวนหนึ่งหรือเป็นรายการการเปลี่ยนแปลงที่ทำในช่วงเวลาหนึ่ง วิกิบางตัวสามารถเลือกกรองโดยเพื่อที่จะไม่แสดงเอาการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยและไม่แสดงการแปลงที่ทำโดยสคริปต์อัตโนมัติ ("บอต")

จากปูมบันทึกการเปลี่ยนแปลง ความสามารถอื่นของวิกิส่วนมากคือ "ประวัติการแก้ไขปรับปรุง" ซึ่งแสดงหน้าวิกิรุ่นก่อนและยังมีลักษณะพิเศษในการ "ดิฟฟ์" (diff) ที่เน้นให้เห็นความเปลี่ยนแปลงระหว่างการแก้ไขปรับปรุง 2 ครั้ง ด้วยการใช้ประวัติการแก้ไขปรับปรุง บรรณาธิการสามารถดูหรือนำหน้าวิกิรุ่นก่อนหน้ากลับคืนมาได้ลักษณะเด่นดิฟฟ์สามารถใช้ในการตัดสินใจว่ามีความจำเป็นในการนำหน้าวิกิรุ่นก่อนกลับคืนมาหรือไม่ ผู้ใช้วิกิธรรมดาสามารถดูดิฟฟ์ของรายการหน้าที่ถูกแก้ไขจากหน้า "ปรับปรุงล่าสุด" ถ้าหากว่ามีการแก้ไขที่ไม่เป็นที่ยอมรับโดยดูจากประวัติก็สามารถนำหน้าวิกิรุ่นก่อนหน้ากลับคืนมาได้ การนำหน้าวิกิรุ่นก่อนกลับคืนมามีความสะดวกระดับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์วิกิที่ใช้

[แก้] การพัฒนาการ

การสร้างเอกสาร WYSIWYG ก็มีทางเป็นไปได้โดยการเพิ่มโมดูลพิเศษให้โปรแกรมค้นดูเว็บ หรือใช้วิธีที่ง่ายกว่าโดยใช้จาวาสคริปต์ในหน้าเว็บทำให้หน้าเว็บมีการเปลี่ยนแปลงโต้ตอบได้ มากไปกว่านั้นยังมีวิธีที่ผ่อนปรนระหว่างการใช้ภาษามาร์กอัปกับ WYSIWYG เช่น การเพิ่มปุ่มช่วยจดจำภาษามาร์กอัป เช่น ปุ่มเพิ่มรูปที่ช่วยเพิ่มข้อความในภาษามาร์กอัปแต่ไม่ได้แสดงผลลัพธ์ให้เห็นในทันที ที่พบได้ในมีเดียวิกิ การเพิ่มปุ่มช่วยจดจำภาษามาร์กอัปสามารถอำนวยความสำดวกให้กับผู้ใช้ได้โดยไม่ต้องเพิ่มโปรแกรมพิเศษมากเท่าการทำให้แก้ไขหน้าเว็บแบบ WYSIWYG มากไปกว่านั้นในหลายกรณี การสร้างแก้ไขเอกสารแบบ WYSIWYG ก็ไม่ส่งเสริมให้ผู้ใช้จัดการโครงสร้างของเอกสาร เช่น การเพิ่มขนาดตัวอักษร แทนการกำหนดหัวข้อ ซึ่งทำให้การประมวลผลเอกสารเช่นการเปลี่ยนรูปแบบเอกสารตามแม่แบบเป็นไปได้ยากขึ้น

ที่มา

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ึึ7

ระบบการจัดหมวดหมู่ (Category)

ระบบการจัดหมวดหมู่ในวิกิพีเดียช่วยจัดการหัวข้อบทความที่มีอยู่จำนวนมากรวมอยู่ในกลุ่มที่มีเนื้อหาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ช่วยให้ผู้ใช้สามารถหาข้อมูลบทความได้ครอบคลุม นอกจากนี้ระบบการจัดหมวดหมู่ในวิกิพีเดียสามารถทำได้ง่ายเพียงกำหนดชื่อหมวดหมู่ ที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้นๆ ที่หน้าบทความนั้นด้วยคำสั่ง

[[category:ชื่อหมวดหมู่]] หรือ [[หมวดหมู่:ชื่อหมวดหมู่]]

เมื่อมีการระบุดังข้างต้นในบทความ ระบบก็จะมีการจัดหมวดหมู่ให้ และยังมีการลำดับชื่อบทความในหมวดหมู่นั้นตามลำดับอักษรให้ด้วยโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น หมวดหมู่ในวิกิพีเดียชื่อ หมวดหมู่การ์ตูน

ระบบการจัดการภาพ (Image and gallery)

วิกิพีเดียมีระบบการจัดการภาพที่ช่วยให้ผู้ใช้มีความสะดวกในการใช้งานกับสื่อชนิดที่เป็นภาพ ระบบต่างๆ ได้แก่

1. การอัปโหลดภาพ: การอัปโหลดภาพเพื่อใช้ในบทความสามารถทำได้ง่าย เพียง browse เพื่อเลือกชื่อไฟล์ที่มีอยู่ในเครื่องก็สามารถอัปโหลดไฟล์ภาพที่ที่ต้องการใช้งานเข้าในระบบวิกิได้ นอกจากนี้ในกระบวนการอัปโหลดยังสามารถจัดการเกี่ยวกับไฟล์ภาพได้ดังนี้
  • กำหนดบันทึกข้อความที่เป็นรายละเอียด เกี่ยวกับไฟล์ภาพเช่น การบอกแหล่งที่มาของภาพ
  • ระบบการระบุสัญญาอนุญาตของไฟล์โดยอัตโนมัติ ผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบสัญญาอนุญาตไฟล์ที่ตัวเองต้องการได้


ตัวอย่างแสดงระบบการบันทึกการอัปโหลดภาพ
ตัวอย่างแสดงระบบการบันทึกข้อมูลในการอัปโหลดภาพ


2. การแสดงรายละเอียดข้อมูลภาพ ภาพที่อัปโหลดขึ้นไปที่วิกิพีเดียจะมีการบันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับภาพโดยอัตโนมัติ ผู้ใช้สามารถดูรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับภาพ หัวข้อบทความที่ภาพปรากฏ หรือรายละเอียดคุณสมบัติของภาพได้ที่บันทึกนี้ ตัวอย่างเช่นการแสดงรายละเอียดในวิกิพิเดียไทย ชื่อ ภาพเอื้องทอง


3.การแสดงรายการภาพ เราสามารถเรียกดูรายการภาพที่อัปโหลดขึ้นไปได้ ทั้งที่ดูแบบรายการรายชื่อไฟล์ภาพ โดยเลือกจากคำสั่ง list of uploaded files ที่หน้าอัปโหลดภาพ หรือดูเป็น gallery ภาพที่เมนู Special pages ด้านซ้ายมือ แล้วเลือกรายการ Gallery of new files หรือเรียกดูเป็นชื่อไฟล์ภาพจากช่อง search


ตัวอย่างการแสดงรายการไฟล์ภาพ
ตัวอย่างการแสดงรายการไฟล์ภาพ


4. การสร้างคลังภาพ การสร้างคลังภาพ หรือจัดทำในลักษณะคล้ายอัลบัมภาพในวิกิพีเดียสามารถทำได้ง่าย เพียงใช้คำสั่ง

image:ชื่อไฟล์ภาพข้อความใต้ภาพ
image:ชื่อไฟล์ภาพข้อความใต้ภาพ
การสร้างคลังภาพนอกจากจะใช้ประโยชน์เพื่อแสดงภาพจำนวนมากพร้อมกัน ยังสามารถลิงก์จากข้อความใต้ภาพเพื่อเข้าสู่เนื้อหาของบทความได้ ดูรายละเอียดการสร้างคลังภาพเพิ่มที่ การใส่รูปภาพ

การใช้แม่แบบ

การใช้แม่แบบเพื่อช่วยในการแก้ไขบทความในวิกิพีเดียถือว่าเป็นฟังก์ชันที่สำคัญและช่วยงานการแก้ไขบทความให้ง่ายขึ้นได้อย่างมาก ทั้งในเรื่องของความถูกต้องตรงกันของเนื้อหาเดียวกันแต่ใช้ซ้ำในหลายหน้า และที่สำคัญคือประหยัดเวลา และพื้นที่หน้าแก้ไข ดูรายละเอียดเพิ่มที่ การใช้แม่แบบ

ที่มา รายละเอียด