วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ใบงานOPAC

คลิ๊กที่นี่ค่ะ

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่4

รุ่นภาษา

ดีวีดี วิกิพีเดียภาษาโปแลนด์

ปัจจุบันวิกิพีเดียมีทั้งหมด 272 ภาษา โดยมีวิกิพีเดีย 31 ภาษาที่มีเนื้อหามากกว่า 100,000 เรื่อง ซึ่งวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นรุ่นที่มีเนื้อหามากที่สุด รองลงมาด้วย เยอรมัน ฝรั่งเศส โปแลนด์ และอิตาลี

เนื่องจากผู้ใช้วิกิพีเดียสามารถร่วมสร้างจากทั่วโลกผ่านทางเว็บไซต์ ทำให้เกิดมีความขัดแย้งเกิดขึ้นจากผู้เขียนที่ใช้ภาษาถิ่นแตกต่างกัน โดยปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยปรากฏในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น ภาษาถิ่นสำเนียง อังกฤษบริติช และอังกฤษอเมริกันส่งผลให้มีการสะกดหลายแบบ (ตัวอย่างเช่น colour และ color) รวมไปถึงเนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นจากมุมมองที่ต่างกัน

อย่างไรก็ตามแม้ว่าวิกิพีเดียในแต่ละภาษาได้มีการบริหารแยกจากกันต่างหาก ทางมูลนิธิได้มีการตั้งเว็บไซต์เมต้าวิกิใช้เป็นศูนย์กลางในการประสานงานของวิกิพีเดียแต่ละภาษา เช่นการให้บริการข้อมูลด้านสถิติ แสดงรายชื่อบทความพื้นฐานที่แต่ละวิกิพีเดียควรมี รวมถึงการเชื่อมโยงบทความในแต่ละภาษาเข้าด้วยกันผ่านทางลิงก์ที่เรียกว่า "อินเตอร์วิกิ"

วิกิพีเดียยังมีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่ออื่นนอกเหนือจากทางเว็บไซต์ วิกิพีเดียในหลายภาษาได้มีการนำข้อมูลบรรจุลงในแผ่นดีวีดี เช่นในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพีเดียภาษาโปแลนด์[16] และวิกิพีเดียภาษาเยอรมัน[17] นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาข้อมูลวิกิพีเดียเพื่อนำไปใช้ในเครื่องไอพ็อด [18



ที่มา รายละเอียด

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หัวข้อโปรเจ็ก

ปรับหัวข้อโปรเจ็กใหม่

คลิ๊กที่นี่ค่ะ

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 3

เนื้อหาเสรี และการอนุญาตให้ใช้แบบเสรี

เนื้อหาข้อความทั้งหมดในวิกิพีเดียเป็นเนื้อหาเสรี งานสมทบที่ส่งมายังวิกิพีเดียทุกชิ้นถูกคุ้มครองโดย สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาอนุญาตชนิด "copyleft" ที่ให้สิทธิ์นำเนื้อหาไปแจกจ่ายซ้ำ ดัดแปลงต่อยอด และนำไปใช้งานได้อย่างเสรี ทั้งนี้รวมถึงการใช้งานเชิงพาณิชย์ด้วย สัญญาอนุญาตตัวนี้ อนุญาตให้ผู้ร่วมเขียนวิกิพีเดียแต่ละคนยังคงมีสิทธิ์ในงานที่ตนเองสร้างสรรค์ขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปต่อยอดและแจกจ่ายงานต่อยอดนั้นต่อได้ เพียงมีเงื่อนไขว่าจะต้องให้เครดิตกับเจ้าของงานดั้งเดิม และงานต่อยอดนั้นจะต้องใช้สัญญาอนุญาต GFDL เช่นเดียวกัน ด้วยสัญญาอนุญาตตัวนี้ ทำให้รับประกันได้ว่าวิกิพีเดียจะถูกแก้ไขได้อย่างเสรีและอย่างเท่าเทียมกัน การสมทบงานของผู้เขียนแต่ละคน จะถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลตราบนานเท่านาน แลร์รี แซงเจอร์ เคยกล่าวถึงการใช้ GFDL ไว้ว่า “การรับประกันเสรีภาพ เป็นแรงจูงใจสำคัญในการทำงานสารานุกรมเสรี”[13]

วิกิพีเดียนั้นยังประกอบด้วยภาพและสื่ออื่น ๆ ที่ไม่ได้สร้างสรรค์โดยผู้ร่วมแก้ไข โดยสื่อเหล่านั้นอาจจะเป็นสาธารณสมบัติ หรือใช้สัญญาอนุญาตแบบ copyleft อื่น หรือสัญญาอนุญาตที่เข้ากันได้กับ GFDL เช่นสัญญาอนุญาตประเภท ครีเอทีฟคอมมอนส์ อย่างไรก็ตามยังคงมีชิ้นงานอื่น ๆ เช่น ตราประจำบริษัท ตัวอย่างเพลง ภาพข่าวที่มีลิขสิทธิ์ ฯลฯ ที่นำออกแสดงในวิกิพีเดีย ด้วยการอ้างสิทธิ์การใช้งานโดยชอบธรรม ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา (เครื่องแม่ข่ายที่เก็บเนื้อหาของวิกิพีเดียนั้น โดยส่วนใหญ่รวมถึงวิกิพีเดียภาษาไทย ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา) เนื้อหาที่มีอยู่นี้มีความเหมาะสมและมีความถูกต้องตรงไปตรงมาอยู่และเหมาะแก่การนำไปใช้งานและยังเป็นการป้องกันการละเมิดลิขสิทธ์อีกด้วยซึ่งเหมาะสมกับผู้ที่ต้องการทำธรุกิจเป็นอันมาก

อคติและความโอนเอียงของข้อมูล

อคติและความโอนเอียงในระบบของวิกิพีเดีย เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมาก โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่าเรื่องราวบางเรื่องมีข้อมูลลงลึกมากกว่าเรื่องอื่น ๆ ซึ่งข้อวิพากษ์วิจารณ์นี้ แม้กระทั่งผู้เสนอโครงการวิกิพีเดียเองก็ยอมรับ

ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์

วิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อมีเดียวิกิที่เป็นซอฟต์แวร์ในลักษณะโอเพนซอร์ซทำงานผ่านการบริหารเว็บไซต์ที่เรียกว่าวิกิ ตัวซอฟต์แวร์เขียนขึ้นด้วยภาษาพีเอชพีที่ทำงานร่วมกับฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล ในช่วงเริ่มต้น ในระยะที่หนึ่งวิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อยูสม็อดวิกิที่เขียนขึ้นในภาษาเพิร์ล จนกระทั่งเดือนมกราคม 2545 วิกิพีเดียเริ่มโครงการระยะที่ 2 ได้เปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ชื่อพีเอชพีวิกิร่วมกับฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล และต่อมาในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน วิกิพีเดียได้มาใช้ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ ซึ่งเป็นโครงการระยะที่ 3 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

วิกิพีเดียทำงานและเก็บข้อมูลเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์เนื้อหาทั้งหมดจัดเก็บไว้ที่รัฐฟลอริดาในสหรัฐอเมริกา และอีก 2 เซิร์ฟเวอร์ย่อยที่อัมสเตอร์ดัมในเนเธอร์แลนด์ และโซลในเกาหลีใต้ สำหรับจัดการบริหารและดูแลรักษาข้อมูล[14] ในช่วงระยะแรกวิกิพีเดียเก็บข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์เดี่ยวจนกระทั่งได้มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น และเมื่อ เดือนมกราคม 2548 โครงการทั้งหมดได้ทำงานบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ 39 เครื่องที่ตั้งในรัฐฟลอริดา และต่อมาในเดือนกันยายนปีเดียวกันจนกระทั่งปัจจุบัน ได้มีการเพิ่มเซิร์ฟเวอร์กว่า 100 เครื่อง โดยตั้งอยู่ที่เมืองแทมปาในรัฐฟลอริดา อัมเสตอร์ดัม และโซล

วิกิพีเดียมีการเรียกใช้งานประมาณ 10,000 ถึง 35,000 หน้าต่อวินาที ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของแต่ละวัน[15] โดยทางระบบจะส่งข้อมูลเก่าที่เป็นแคชจากเซิร์ฟเวอร์สควิดแคชเลเยอร์ชั้นบนสุดไปให้ผู้เข้าชมเว็บ ซึ่งถ้าข้อมูลนั้นไม่มีในแคชข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์หลักจะถูกส่งมาแทนที่เพื่อลดการทำงานของเซิร์ฟเวอร์หลัก อย่างไรก็ตามข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์แคชจะถูกล้างเป็นระยะเพื่อพัฒนาข้อมูลใหม่ ในทางตรงข้ามผู้ร่วมเขียนบทความจะได้ข้อมูลตรงจากทางเซิร์ฟเวอร์หลักแทนที่สควิดแคชเสมอ

ที่มา

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ส่งหัวข้อโปรเจ็ก2

เสนอหัวข้อใหม่ค่ะ

ข่าวประจำสัปดาห์ที่2

ประวัติ
วิกิพีเดียเริ่มต้นเมื่อ 15 มกราคม พ.ศ. 2544 โดยเริ่มต้นโครงการจากชื่อสารานุกรมนูพีเดียที่เขียนโดย ผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขาบริหารโดยโบมิส ซึ่งมี จิมมี เวลส์ เป็นผู้บริหารขณะนั้นโดยในช่วงแรกได้ใช้ลิขสิทธิ์เสรีเฉพาะของนูพีเดียเอง และภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนูภายหลังจากการผลักดันของริชาร์ด สตอลล์แมน[5]
ลักษณะสารานุกรม
สารานุกรมวิกิพีเดียได้รับการยอมรับจากนักวิชาการและสื่อมวลชน เนื่องจากเนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้ รวมถึงเปิดเสรีที่ให้ทุกคนแก้ไข รวมถึงนโยบายมุมมองที่เป็นกลางจากทุกฝ่ายที่เขียนในสารานุกรม อย่างไรก็ตามการนำไปใช้อ้างอิงในเอกสารทางวิชาการยังคงเป็นข้อถกเถียงเนื่องจากการเปิดโอกาสให้ทุกคนแก้ไข ซึ่งง่ายต่อการปรับเปลี่ยนข้อมูลทุกเมื่อ
ผู้ประสงค์ร้ายที่มือบอนเข้าไปทำลายข้อมูลหรือสิ่งดีๆ ในวิกิพีเดีย ยังเป็นปัญหาที่เกิดบ่อย แม้ว่าส่วนใหญ่ผู้ก่อการร้ายเหล่านั้นจะถูกจับได้ และมีการเข้าไปแก้ไขเนื้อหาเพิ่มเติมที่ไม่ถูกต้องเหล่านั้นอย่างรวดเร็ว โดยผู้ใช้วิกิพีเดียที่ทำหน้าที่ตรวจสอบติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นล่าสุด
การตรวจสอบเนื้อหาในวิกิพีเดีย ใช้วิธีอ้างอิงจากงานที่ได้รับการตีพิมพ์ (peer-reviewed publications) แทนที่จะเป็นบุคคลผู้เชี่ยวชาญ วิกิพีเดียไม่เรียกร้องให้ผู้ร่วมสมทบงานให้ชื่อสกุลจริงหรือข้อมูลอื่นใดเพื่อสร้างตัวตนในวิกิพีเดีย และแม้ว่าผู้สมทบงานบางรายจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาของตน วิกิพีเดียก็ยังต้องการให้งานสมทบของเขาสนับสนุนโดยแหล่งอ้างอิงที่ตีพิมพ์แล้วและตรวจสอบได้
ความน่าเชื่อถือของวิกิพีเดียได้ถูกทำการทดสอบ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ได้มีทีมนักวิจัยทดสอบความถูกต้องของวิกิพีเดียฉบับภาษาอังกฤษ เปรียบเทียบกับสารานุกรมบริเตนนิกา สารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยนำเรื่องราวเกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ไปทดสอบ ผลลัพธ์ที่ออกมาสรุปว่าความถูกต้องใกล้เคียงกัน โดยมีการผิดพลาดทางข้อมูลและการใช้ภาษาใกล้เคียงกัน[6]
วิกิพีเดียถูกกล่าวหาว่านำเสนอเนื้อหาที่มีความลำเอียงอย่างเป็นระบบ (systemic bias) และมีความไม่สอดคล้องกัน[7] นักวิจารณ์ให้เหตุผลว่า ธรรมชาติที่เปิดของวิกิพีเดียและการไม่มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงในเนื้อหาจำนวนมาก ทำให้มันไม่น่าเชื่อถือ[8] นักวิจารณ์อีกกลุ่มแนะว่า โดยปกติแล้ววิกิพีเดียนั้นเชื่อถือได้ แต่มันไม่แน่ชัดเท่าไรนักว่าน่าเชื่อถือแค่ไหน[9] มหาวิทยาลัยและอาจารย์จำนวนมากไม่สนับสนุนให้นักเรียนอ้างอิงสารานุกรมใด ๆ ในงานวิชาการ และชอบที่จะให้ใช้งานจากแหล่งปฐมภูมิมากกว่า[10] บางรายระบุเป็นการเฉพาะว่าห้ามอ้างอิงวิกิพีเดีย[11] ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดีย จิมมี่ เวลส์ เน้นว่าสารานุกรมชนิดใด ๆ นั้นโดยปกติแล้วไม่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ และไม่ควรไว้วางใจมันว่าเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้[12]

ที่มา รายละเอียด

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่1

นัดชิงชนะเลิศ
11 กรกฎาคม 201020:30 (01:30)
เนเธอร์แลนด์
Match 64
สเปน
เงินรางวัลและการจ่ายเงิน
เงินรางวัลตลอดทั้งการแข่งขันที่ได้รับการยืนยันจากฟีฟ่าคือ 420 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มจากในการแข่งขันในปี 2006 ร้อยละ 60[13] ก่อนการแข่งขัน ทุกทีมที่เข้าแข่งขันจะได้รับเงิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ และเมื่อถึงการแข่งขันรอบแบ่งทีม จะได้รับเงิน 8 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากนั้นแต่ละทีมจะได้รับเงินดังต่อไปนี้
$9 ล้าน – 16 ทีมสุดท้าย
$18 ล้าน – 8 ทีมสุดท้าย
$20 ล้าน – 4 ทีมสุดท้าย
$24 ล้าน – รองชนะเลิศ
$30 ล้าน – ผู้ชนะเลิศ
ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด
ฟีฟ่าได้ตกลงการซื้อขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดแก่สถานีโทรทัศน์จากทั่วโลก อาทิ บีบีซี, ซีซีทีวี, อัลญาซีรา, เอบีซี เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย บริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต จำกัด (อาร์เอสบีเอส) ในเครืออาร์เอส เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว โดยถือลิขสิทธิ์ตั้งแต่ปี 2006 และต่อเนื่องไปถึงปี 2014 อาร์เอสบีเอสมอบหมายให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ดำเนินการถ่ายทอดสดในระบบโทรทัศน์ปกติสลับหมุนเวียนครบทุกนัดโดยไม่มีโฆษณาคั่นระหว่างการแข่งขัน นับเป็นประเทศที่มีจำนวนสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวีร่วมถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกครั้งนี้มากเป็นอันดับสองของโลก รองจากญี่ปุ่นที่มี 6 สถานี นอกจากนี้อาร์เอสบีเอสยังมอบลิขสิทธิ์ให้ทรูวิชั่นส์ดำเนินการถ่ายทอดสดในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง ผ่านช่องทรูสปอร์ต เอชดี นับเป็นการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาในระบบนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย[14]

ที่มา

ส่งหัวข้อโปรเจ็ก

คลิกที่นี่ค่ะ