วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 3

เนื้อหาเสรี และการอนุญาตให้ใช้แบบเสรี

เนื้อหาข้อความทั้งหมดในวิกิพีเดียเป็นเนื้อหาเสรี งานสมทบที่ส่งมายังวิกิพีเดียทุกชิ้นถูกคุ้มครองโดย สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาอนุญาตชนิด "copyleft" ที่ให้สิทธิ์นำเนื้อหาไปแจกจ่ายซ้ำ ดัดแปลงต่อยอด และนำไปใช้งานได้อย่างเสรี ทั้งนี้รวมถึงการใช้งานเชิงพาณิชย์ด้วย สัญญาอนุญาตตัวนี้ อนุญาตให้ผู้ร่วมเขียนวิกิพีเดียแต่ละคนยังคงมีสิทธิ์ในงานที่ตนเองสร้างสรรค์ขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปต่อยอดและแจกจ่ายงานต่อยอดนั้นต่อได้ เพียงมีเงื่อนไขว่าจะต้องให้เครดิตกับเจ้าของงานดั้งเดิม และงานต่อยอดนั้นจะต้องใช้สัญญาอนุญาต GFDL เช่นเดียวกัน ด้วยสัญญาอนุญาตตัวนี้ ทำให้รับประกันได้ว่าวิกิพีเดียจะถูกแก้ไขได้อย่างเสรีและอย่างเท่าเทียมกัน การสมทบงานของผู้เขียนแต่ละคน จะถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลตราบนานเท่านาน แลร์รี แซงเจอร์ เคยกล่าวถึงการใช้ GFDL ไว้ว่า “การรับประกันเสรีภาพ เป็นแรงจูงใจสำคัญในการทำงานสารานุกรมเสรี”[13]

วิกิพีเดียนั้นยังประกอบด้วยภาพและสื่ออื่น ๆ ที่ไม่ได้สร้างสรรค์โดยผู้ร่วมแก้ไข โดยสื่อเหล่านั้นอาจจะเป็นสาธารณสมบัติ หรือใช้สัญญาอนุญาตแบบ copyleft อื่น หรือสัญญาอนุญาตที่เข้ากันได้กับ GFDL เช่นสัญญาอนุญาตประเภท ครีเอทีฟคอมมอนส์ อย่างไรก็ตามยังคงมีชิ้นงานอื่น ๆ เช่น ตราประจำบริษัท ตัวอย่างเพลง ภาพข่าวที่มีลิขสิทธิ์ ฯลฯ ที่นำออกแสดงในวิกิพีเดีย ด้วยการอ้างสิทธิ์การใช้งานโดยชอบธรรม ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา (เครื่องแม่ข่ายที่เก็บเนื้อหาของวิกิพีเดียนั้น โดยส่วนใหญ่รวมถึงวิกิพีเดียภาษาไทย ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา) เนื้อหาที่มีอยู่นี้มีความเหมาะสมและมีความถูกต้องตรงไปตรงมาอยู่และเหมาะแก่การนำไปใช้งานและยังเป็นการป้องกันการละเมิดลิขสิทธ์อีกด้วยซึ่งเหมาะสมกับผู้ที่ต้องการทำธรุกิจเป็นอันมาก

อคติและความโอนเอียงของข้อมูล

อคติและความโอนเอียงในระบบของวิกิพีเดีย เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมาก โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่าเรื่องราวบางเรื่องมีข้อมูลลงลึกมากกว่าเรื่องอื่น ๆ ซึ่งข้อวิพากษ์วิจารณ์นี้ แม้กระทั่งผู้เสนอโครงการวิกิพีเดียเองก็ยอมรับ

ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์

วิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อมีเดียวิกิที่เป็นซอฟต์แวร์ในลักษณะโอเพนซอร์ซทำงานผ่านการบริหารเว็บไซต์ที่เรียกว่าวิกิ ตัวซอฟต์แวร์เขียนขึ้นด้วยภาษาพีเอชพีที่ทำงานร่วมกับฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล ในช่วงเริ่มต้น ในระยะที่หนึ่งวิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อยูสม็อดวิกิที่เขียนขึ้นในภาษาเพิร์ล จนกระทั่งเดือนมกราคม 2545 วิกิพีเดียเริ่มโครงการระยะที่ 2 ได้เปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ชื่อพีเอชพีวิกิร่วมกับฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล และต่อมาในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน วิกิพีเดียได้มาใช้ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ ซึ่งเป็นโครงการระยะที่ 3 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

วิกิพีเดียทำงานและเก็บข้อมูลเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์เนื้อหาทั้งหมดจัดเก็บไว้ที่รัฐฟลอริดาในสหรัฐอเมริกา และอีก 2 เซิร์ฟเวอร์ย่อยที่อัมสเตอร์ดัมในเนเธอร์แลนด์ และโซลในเกาหลีใต้ สำหรับจัดการบริหารและดูแลรักษาข้อมูล[14] ในช่วงระยะแรกวิกิพีเดียเก็บข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์เดี่ยวจนกระทั่งได้มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น และเมื่อ เดือนมกราคม 2548 โครงการทั้งหมดได้ทำงานบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ 39 เครื่องที่ตั้งในรัฐฟลอริดา และต่อมาในเดือนกันยายนปีเดียวกันจนกระทั่งปัจจุบัน ได้มีการเพิ่มเซิร์ฟเวอร์กว่า 100 เครื่อง โดยตั้งอยู่ที่เมืองแทมปาในรัฐฟลอริดา อัมเสตอร์ดัม และโซล

วิกิพีเดียมีการเรียกใช้งานประมาณ 10,000 ถึง 35,000 หน้าต่อวินาที ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของแต่ละวัน[15] โดยทางระบบจะส่งข้อมูลเก่าที่เป็นแคชจากเซิร์ฟเวอร์สควิดแคชเลเยอร์ชั้นบนสุดไปให้ผู้เข้าชมเว็บ ซึ่งถ้าข้อมูลนั้นไม่มีในแคชข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์หลักจะถูกส่งมาแทนที่เพื่อลดการทำงานของเซิร์ฟเวอร์หลัก อย่างไรก็ตามข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์แคชจะถูกล้างเป็นระยะเพื่อพัฒนาข้อมูลใหม่ ในทางตรงข้ามผู้ร่วมเขียนบทความจะได้ข้อมูลตรงจากทางเซิร์ฟเวอร์หลักแทนที่สควิดแคชเสมอ

ที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น